แนวทางการแก้ไข


1. ไม่สามารถช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวได้
      เนื่องจากประชาชนยังมีทัศนะคติในแง่ลบกับรถ BRT  เรื่องปัญหารถ BRT ไปแย่งเลนของรถยนต์ส่วนบุคคลและรถร่วมบริการอื่นๆทำให้ประชาชนไม่พอใจ เพราะฉะนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลดีของการใช้รถ BRT และรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ   ให้ประชาชนหันมาสนใจรถ BRT โดยประชาสัมพันธ์ถึงการช่วยลดโลกร้อนโดยการลดปริมาณการใช้รถยนต์ในท้องถนน และการบริการต่างๆภายในสถานีและภายในรถ



2. BRT ไม่เร็วอย่างที่คิด

     ความเร็วของรถBRTในช่วงเริ่มแรกจะมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 8กม./ชั่วโมง ในชั่วโมงเร่งด่วนจะเหลือเพียง 5 กม/ชั่วโมง   ซึ่งเป็นความเร็วที่ต่ำพอสมควรแต่ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่สภาวะความเร็วปกติ ปัญหา BRTมีความเร็วค่อนข้างต่ำนั้นไม่ได้อยู่ที่สภาพตัวรถ BRT เองหรือคนขับ แต่อยู่ที่ ปัญหารถติดที่เป็นปัญหาที่แก้ยังไงก็แก้ไม่ตก แต่โครงการ BRT สร้างมาเพื่อลดปัญหารถติดเพราะฉะนั้นจึงควรลดรถเมล์บางสายที่ทับกับเส้นทาง BRT เพื่อลดจำนวนรถในท้องถนนลงบ้าง


3. เส้นทางเดินรถ ไม่ได้ผ่านจุดสำคัญ

     ปัญหารถไม่ผ่านจุดสำคัญเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เนื่องจากคน กทม ต้องการลดระยะเวลาเพราะฉะนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหา ควรมีการพิจารณาเส้นทางใหม่ ทั้งนี้จากเส้นทางเดิมไม่สามารถแก้ไข้ได้ ผู้สร้างควรพิจารณาในการเปิดเส้นทางของ BRT ในสายใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นต่อไป


4. การใช้ช่องจราจรของ BRT

      การที่ต้องใช้เส้นทางร่วมกับรถปกติ ซึ่งอาจจะมีรถอื่นเข้ามาแอบใช้ช่องรถ BRT จะเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถนนร่วมกัน แต่หากมีการแอบใช้ช่องทางพิเศษ ก็ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุม ซึ่ง กทม.ได้ประสานกองบังคับการจราจรในส่วนการกำหนดช่องจราจรเฉพาะสำหรับรถบีอาร์ที รวมถึงการติดตั้งกล้องอัตโนมัติตรวจจับการฝ่าฝืนเข้าไปใช้ช่องเดินรถบีอาร์ที หรือ Red Light Camera เพื่อป้องกันไม่ให้รถอื่นเข้าไปใช้ช่องทางดังกล่าว ซึ่งหากมีรถเข้าไปวิ่งก็จะบันทึกภาพและเปรียบเทียบปรับไม่ต่างกับการฝ่าไฟแดง ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดผลดี เนื่องจากสถิติการฝ่าฝืนจราจรโดยเฉพาะแยกที่ติดกล้องดังกล่าวลดลงมากกว่า 50% จึงมั่นใจว่าจะเกิดประสิทธิภาพกับการเดินรถ BRT ด้วย


     โครงการขนส่งมวลขนระบบราง ทางเลือกใหม่สำหรับ การจราจรในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นการสร้างความสอดคล้อง การเชื่อมต่อและลดความซ้ำซ้อนของแต่ละเส้นทาง เพื่อทำการ ปรับลดเส้นทางที่มีความหนาแน่น โดยเลือกเส้นทางที่มีความเหมาะสมกว่าเพียงเส้นทางเดียวเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ หากมีระบบขนส่ง มวลชนที่มีคุณภาพ คาดว่าปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลจะลดน้อยลงซึ่งเป็นการลดภาระการใช้พลังงานของประเทศ ได้ทางหนึ่ง และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย