แนวคิดและองค์ประกอบ
สำหรับแนวความคิดในการออกแบบองค์ประกอบของ BRT มีทั้งหมด 7 ส่วนด้วยกันคือ
1. ทางวิ่งเกาะกลางของรถโดยสาร BRT
2. สถานีรถโดยสาร ขบวนรถโดยสาร
3. การออกแบบการให้บริการ
4. การจัดการระบบ
5. ระบบขนส่งอัจฉริยะ
6. เทคโนโลยีของระบบตั๋วโดยสาร
7. ภาคการตลาด
ทางวิ่งเกาะกลางของรถโดยสาร BRT จะแยกเป็นทางวิ่งเฉพาะไม่ปะปนกับ รถประเภทอื่นๆ มีทางเข้า – ออก จำกัดเฉพาะจุดที่กำหนด รวมไปถึงการออกแบบทางกายภาพ เช่น ทาสีผิวทางให้เด่นชัดเป็น เอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อให้เกิดความแตกต่าง จากเส้นทางจราจร
สถานีรถโดยสาร BRT จะตั้งอยู่บนเกาะกลางถนน สามารถรองรับความจุ ของทั้งปริมาณรถและผู้โดยสาร เน้นการออกแบบให้มีภาพลักษณ์การบริการ ที่มีคุณภาพสูง สะดวก ปลอดภัย มีการปรับปรุง ภูมิทัศน์โดยรอบให้เกิดความสวยงาม ด้วยรถยนต์ หรือรถโดยสารประเภทอื่น ระยะห่างระหว่างสถานี กำหนดเอาไว้ประมาณ 700 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร
ติดตั้งระบบอำนวยความสะดวก ในการเปลี่ยน รูปแบบการเดินทาง เช่น กรณีผู้โดยสาร ต้องการเปลี่ยน เส้นทางเพื่อไปเชื่อมต่อ กับระบบขนส่ง มวลชน อื่นก็สามารถกระทำได้โดยง่าย ปลอดภัย และมีข้อมูลเพียบพร้อม
ขนาดของรถโดยสาร BRT กำหนดความยาวมาตรฐานเอาไว้ที่ 12 เมตร จุผู้โดยสาร ได้สูงสุดที่ 80 คน มีที่นั่งรอบตัวรถ คล้ายคลึงกับรถไฟฟ้าบีทีเอส และใช้เชื้อเพลิงสะอาดไม่ก่อมลพิษ โดยใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซเอ็นจีวี
มีการติดตั้งระบบนำร่องทางกลศาสตร์ ช่วยใน บริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เพื่อลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของระบบบีอาร์ทีก็คือ จะมีศูนย์ควบคุมการเดินรถ สามารถติดตามตำแหน่งของรถแต่ละคันด้วยระบบ GPS (Global Positioning System) และการสื่อสารสองทาง
มีระบบโทรทัศน์วงจรปิดประจำรถทุกคัน หากเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ ร้ายแรงขึ้นใน ระหว่างการให้บริการ ทางศูนย์ฯสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)